บริการของบริษัท ไทเฮา แคปปิตอล จำกัด

แฟคตอริ่ง.event

แฟ็กเตอริงเป็นสินเชื่อระยะสั้นที่ช่วยแก้ปัญหาด้านสภาพคล่องให้กับธุรกิจที่มีเงินทุนจมอยู่ในลูกหนี้การค้า ทำให้ผู้ขายสินค้ามีเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้น โดยผู้ขายสินค้าจะโอนลูกหนี้การค้าที่อยู่ระหว่างรอเรียกเก็บไปให้ผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง และจะได้รับเงินล่วงหน้าประมาณร้อยละ 70 – 90 ของค่าสินค้าตามเอกสารการค้า จากนั้นผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงจะเป็นผู้ดำเนินการเรียกเก็บหนี้จากลูกหนี้การค้าเมื่อครบกำหนดชำระ เมื่อผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงเรียกเก็บหนี้จากลูกหนี้การค้าได้แล้ว ก็จะหักค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยแล้วจ่ายเงินส่วนที่เหลือให้แก่ผู้ขายสินค้า การทำแฟ็กเตอริงจะมีทั้งแบบที่ต้องแจ้งให้ลูกหนี้การค้าทราบถึงการซื้อขายและการโอนสิทธิดังกล่าว (Disclosed Factoring) และแบบที่ไม่ต้องต้องแจ้งให้ลูกหนี้การค้าทราบถึงการตกลงซื้อขายและการโอนสิทธิการรับเงิน (Confidential Factoring / Non-Notification)  การทำ แฟคตอริ่งมีผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย คือ

 

1. บริษัทผุรั้บซื้อลูกหนี้ เรียกว่า บริษัท แฟคตอริ่ง (Factoring Company) หรืออาจเรียกว่าแฟคเตอร์

2. บริษัทผูข้ ายสินคา้ เงินเชื่อและขายลูกหนี้ที่เกิดจากการขายสินค้าเงินเชื่อนั้น เรียกว่า ผู้ขาย(Client)

3. บริษัทผูซื้อสินค้าเงินเชื่อ และเป็นลูกหนี้ที่หนี้จะถูกขายให้กับแฟคเตอร์ เรียกว่า บริษัทลูกหนี้ (Customer)

ระยะเวลาของการทำ แฟคตอริ่งจะเป็นช่วงสั้น ๆ ประมาณ 7-180 วัน

ขั้นตอนการปฏิบัติและรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

1..ประมูลงานรัฐได้และได้รับสัญญาว่าจ้างจัดงาน

1.1. บริษัทออร์กาไนซ์จะไปประมูลงานจากรัฐในเว็ป e-GP และหากได้งานรัฐจะประกาศผู้ชนะผ่านทางเว็ป e-GP เช่นกันและจะเรียกให้บริษัท ที่ชนะการประมูลเข้าไปเซ็นสัญญาจ้างงานและวางเงินค้ำประกันงานที่ 5% ของมูลค่างานนั้นๆ

1.2.การจัดงานของรัฐจำเป็นต้องจัดงานให้เสร็จและสรุปงานส่งให้กับรัฐเพื่อเบิกเงินค่าจ้าง ฉะนั้น หลายบริษัทจึงขาดสภาพคล่องทางการเงิน เพราะนำเงินไปสำรองจ่ายในงานก่อนหน้า และได้งานมาใหม่ เงินจากงานเก่ายังไม่ออกหรือออกล่าช้าจึงเกิดการโอนสิทธิรับเงินในการจัดงานขึ้น และเราเรียกว่าการขายงาน (การขายงานไม่ใช่การรับช่วงจัดงานต่อ แต่หากเป็นการโอนสิทธิรับเงินค่าจ้างแทนจากบริษัทจัดงานมายังบริษัทที่สนับสนุนเงินทุนสำรองในการจัดงานแทน)

1.3.เมื่อบริษัทออร์กาไนซ์ไปเซ็นสัญญากับหน่วยงานว่าจ้างและวางเงินค้ำประกันงานพร้อมกับสลักสัญญาเสียภาษีกับกรมสรรพากรแล้วนั้น หากบริษัทต้องการใช่สินเชื่อ เราต้องขอกเอกสารจากเขา

  1. ขอสินเชื่อเงินทุนสำรองจัดงานกับ TH

เอกสารและสัญญาต่าง ๆ จากลูกค้ามีดังนี้  

1.สัญญาว่าจ้างงานกับรัฐ

2.สำเนาประกาศผู้ชนะการประมูลงานจาก เว็ป e-GP

3.หนังสือโครงการของภาครัฐหรือเอกสารที่ใช้ในการประกาศประมูลงาน (TOR) จัดงาน

4.หนังสือรับรองบริษัท(มีอายุไม่เกิน 3 เดือน)

5. สำเนาทะเบียนบ้าน,บัตรประชาชนผู้มีอำนาจลงนาม

กระบวนการทำงานของ แฟคตอริ่ง & Event

กรอกแบบฟอร์ม ติดต่อเรา

ชื่อ – นามสกุล :

อีเมล :

เบอร์โทรศัพท์ :

สินเชื่อ:

ข้อความ: